วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การแต่งกายกะเหรี่ยงสวนผึ้ง


ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงจะนิยมแต่งกายชุดสมัยใหม่ คือ เสื้อยืด กางเกง ดังนั้นเป็นการยากที่จะเห็นชาวกะเหรี่ยงแต่งชุดประจำเผ่า จะเห็นได้ก็เฉพาะในเวลาที่มีงานสำคัญ ๆ หรือทางจังหวัด ทางอำเภอ มีงานประจำปีแล้วขอร้องให้ชาวกะเหรี่ยงแต่งชุดประจำเผ่าเท่านั้น จึงจะเห็นชาวกเหรี่ยงแต่งชุดประจำเผ่า
การแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงแบ่งออกตามเพศ คือการแต่งกายของฝ่ายหญิงและการแต่งกายของฝ่ายชาย โดยการแต่งกายของฝ่ายหญิงนั้น จะเรียบง่าย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ถ้าเป็นของเด็กจะเป็นผ้าดิบสีขาว ทอเป็นผืนยาว มีช่องสวมทางศีรษะยาวคลุมเข่าตลอด แล้วปักกุ้นขอบแขน คอ ชายผ้าถุงด้วยด้ายสีแดง อาจใส่เม็ดพืชชนิดหนึ่งที่เรียกว่า พ่งซ้า ที่ชายถุง ส่วนชุดของหญิงสาวที่อายุเกิน 15 ปี ก็คือชุดของผู้ใหญ่จะมีเส้นด้ายยืนที่ทอด้วยด้ายสีน้ำเงินหรือดำ เป็นเส้นหลัก สวมได้ถึงวัยชรา จะมี 2 ชิ้น คือชิ้นที่เป็นผ้าถุง กับชิ้นที่เป็นเสื้อ ส่วนที่เป็นเสื้อจะสวมทางศีรษะเหมือนชุดของเด็ก แต่จะต่างกันที่มีการปักตัวเสื้อด้วยด้ายสีต่าง ๆ มีการเดินเส้นด้วยด้ายสี ส่วนผ้าถุงจะทอยกลายหลากหลายมีเอกลักษณ์เฉพาะของชาวกะเหรี่ยงบริเวณเชิงถุงจะใช้วิธีทอจก ส่วนปลายถุงจะติดเม็ดเงิน ลูกปัด เป็นเม็ดลูกเดือย ภาษากะเหรี่ยง เรียกว่า “พ่งซ้า” เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเหมือนต้นข้าว ทุกเมล็ดจะมีเกสรตรงกลางถ้าเกสรหลุดไปก็จะมีรูตรงกลาง นำมาร้อยรอบชายถุง หรือปักเลื่อมให้สวยงาม ส่วนการทำความสะอาดจะไม่นิยมซักเพราะเสื้อและผ้าถุงจะมีการตกแต่งด้วยลูกปัด ถ้าถูกับแปรงซักผ้าแล้ว อาจทำให้เครื่องประดับหลุดออกก็ได้ ดังนั้นจึงไม่นิยมซักกัน

การแต่งกายของฝ่ายชายนั้นดูจะยุ่งยากกว่าฝ่ายหญิง คือจะนุ่งเป็นโจงกระเบน ส่วนเสื้อจะใช้เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาว สันนิษฐานว่า ชาวกะเหรี่ยงได้แบบอย่างมาเมื่อครั้งเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 5 ที่เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันตก เสื้อสีขาวใช้แทนเสื้อราชปะแตน ส่วนโจงกระเบนก็ใช้ผ้าม่วงทั่วไป โจงกระเบนนั้นจะมีอยู่ไม่มากนักเท่าที่พบเห็น ก็จะมีสีน้ำเงิน สีน้ำตาล สีม่วงซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยากกว่าการแต่งกายของฝ่ายหญิงเพราะผ้านุ่งเป็นผ้าโจงกระเบนจะหาได้ยากกว่า และเสื้อของฝ่ายหญิง แต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างในงานแต่งงานซึ่งจะแต่งเต็มยศคือนุ่งโจงกระเบน เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาวและใช้ผ้าพันศีรษะมีลักษณะเป็นหงอนบนหน้าผาก (ทุไก่นุ) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายนอแรดแต่จะทำด้วยผ้าสีต่าง ๆ ผ้าสีเหล่านี้เป็นผ้าสีที่ได้มาจากพิธีกรรมต่าง ๆ จึงเป็นผ้าสีที่เป็นมงคลแก่ผู้สวมใส่ พันรอบศีรษะและทำเป็นหน่อแรด จะมีลักษณะสวยงามและดูดีมาก สันนิษฐานว่าความเชื่อเรื่องผ้าสีนี้ได้รับเมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จมาเช่นกันโดยได้พระราชทานผ้าสีให้แก่ผู้นำชุมชน และปฏิบัติสืบทอดกันมา เสื้อผ้าของฝ่ายชายจะซักได้เพราะเป็นผ้าที่ไม่ค่อยมีลวดลายและเครื่องประดับอะไร แนวโน้มในอนาคต จะไม่พบเห็นชนกะเหรี่ยงรุ่นหลังแต่งชุดประจำเผ่าอีกเลยก็เป็นได้ เพราะชาวกะเหรี่ยงรุ่นหลังจะนิยมแต่งชุดตามแบบสมัยใหม่ เพราะไม่เก้งก้างเกะกะเหมือนชุดประจำเผ่า และชุดของชาวกะเหรี่ยงอาจจะถูกเก็บเอาไว้ที่บ้านเฉย ๆ หรือไม่ก็อาจถูกเก็บเข้าในพิพิธภัณฑ์เพื่อเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังดู ถ้ามีประเพณีที่สำคัญของชาวกะเหรี่ยงถึงหามาสวมใส่

ที่มา: นายสุรเสรษฐ์ บุญเกตุ

ทักทายกันหน๋อยนะ

ยินดีต้อนรับผู้เข้าชมทุกท่าน...

การแต่งกายชุดกะเหรี่ยงสวนผึ้ง

การแต่งกายชุดกะเหรี่ยงสวนผึ้ง
ที่มา:มนัญญา แย้มอรุณ

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
นางเย็น นิ้วเซ่อ

การฝึกปฏิบัติ

การฝึกปฏิบัติ
การปักลวดลายผ้ากะเหรี่ยง

การฝึกปฏิบัติ

การฝึกปฏิบัติ
การปักลวดลายผ้ากะเหรี่ยง

การฝึกปฏิบัติ

การฝึกปฏิบัติ
การเย็บกระเป๋าสะพาย

ผลิตภัณฑ์จากการปักลวดลายผ้ากะเหรี่ยง

ผลิตภัณฑ์จากการปักลวดลายผ้ากะเหรี่ยง
ถุงใส่ของ

กระเป๋าใส่ปากกา

กระเป๋าใส่ของ

คุณคิดว่าควรมีข้อมูลส่วนใดเพิ่มขึ้นอีก

จำนวนผู้เข้าชม

ผู้ติดตาม